สรุป ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สัปดาห์ที่1 ในสัปดาห์แรก อาจารย์ได้ให้ความรู้โดยสังเขป ดังนี้
1.ความหมายและความสำคัญของภาษา
2.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
3.ทฤษฎีจิตวิทยาการเรียนรู้
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
5.นักศึกษาทางด้านภาษา
6.องค์ประกอบของภาษา
7.หลักการจัดประสบการณ์ทางภาษา
สำหรับการเรียนในครั้งแรก อาจารย์ก็ได้เข้ามาสอน ชี้แจงรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับรายวิชา และได้สอนให้สร้างบล็อกขึ้นเป็นของตัวเอง เพราะในรายวิชานี้ต้องส่งงานผ่านบล็อก จึงจำเป็นมากที่เราจะต้องเรียนรู้วิธีการใช้ ซึ่งก็เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เป็นประโยชน์แก่ตัวเองเป็นอย่างมากสัปดาห์ที่2 สำหรับการเรียนในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเพื่อที่จะได้จัดทำงานกลุ่มเพื่อมานำเสนอ โดยทั้งหมดของงานมี 10 หัวข้อ กลุ่มละประมาณ 5-6 คน และอาจารย์ก็ได้ชี้แจงและอธิบายรายละเอียดต่างในการทำงานกลุ่มครั้งนี้ว่าควรที่จะเป็นแบบไหน และก็ได้ปล่อยให้นักศึกษาทุกคนไปสืบหาค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆในการทำงานกลุ่มที่ห้องสมุด กำหนดเวลาในการทำงานให้มีการนำเสนองานในสัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่3 งดการเรียนการสอน เพราะมีกิจกรรมของมหาลัย คือ กิจกรรมรับน้อง อาจารย์ก็ได้บอกให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองล่วงหน้า
สัปดาห์ที่4 อาจารย์ได้แจกใบเช็นต์ชื่อการเข้าเรียน และให้นักศึกษาเขียนรายชื่อสมาชิกในกลุ่มเพื่อนำเสนองาน โดยแต่ละกลุ่มก็ได้นำเสนองานของกลุ่มตัวเอง บางกลุ่มก็มีข้อขาดตกบกพร่องบ้าง อาจารย์ก็ได้อธิบายและให้ความรู้เพิ่มเติม ให้คำแนะนำในการแก้ไขงานต่อไป
สัปดาห์ที่5 อาจารย์ก็ได้ให้กลุ่มที่เหลือออกไปนำเสนอรายงานให้ครบหมดทุกกลุ่ม สุดท้ายอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม กำหนดให้แต่ละแถวทำตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนด นั่นก็คือ
แถวที่ 1 อาจารย์ให้เอาของที่รักที่ห่วงมากที่สุดมา 1 ชิ้น แล้วบอกว่าของสิ่งนั้นมีความสำคัญต่อเราอย่างไร แล้วก็ให้เพื่อนถามคำถาม
แถวที่ 2 อาจารย์ให้พูดการโฆษณาสินค้า หรือร้านขายของที่เรารู้จัก
แถวที่ 3 อาจารย์ให้พูดประชาสัมพันธ์อะไรก็ได้
แถวที่ 4 อาจารย์ให้พูดเกี่ยวกับข่าวสารต่างๆเหมือนเล่าเรื่องให้เหมือนการนำเสนอข่าว
และแถวสุดท้าย
แถวที่ 5 มีทั้งหมด 4 คน 4 คนแรกอาจารย์ให้กระดาษมาแล้ววาดรูปตามความคิดของเราเอง แล้วออกไปเล่าเป็นนิทานให้ภาพกับเนื้อหามีความสอดคล้องกัน ต่อมา 4 คนหลัง อาจารย์ให้ร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยคะ
สัปดาห์ที่6 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้สั่งหานักศึกษาทุกคนไปค้นคว้าหาเพลงกล่อมลูกประจำภาคของตัวเอง แล้วให้นำมาโพสลง Blogger ของตัวเอง
สัปดาห์ที่7 สำหรับเพลง กล่อมลูกที่หามานั้นเป็นของภาคอีสาน
เพลงกล่อมเด็ก ( ภาคอีสาน )
นอนเด้อหล่า (แม่หม้ายกล่อมลูก)
นอนเด้อหล่าหลับตาเเม่สิกล่อม เจ้าบ่นอน บ่ไห้กินกล้วย เเม่ไปห้วย หาซ่อนปลาปู เก็บผักติ้ว มาไส่เเกงเห็ด ไปไส่เบ็ดเอาปลาข่อใหญ่ อย่าร้องให้เเมวโพงสิจ๊กตา เจ้านอนซ่าเเมวโพงสิจ๊กหำ เจ้านอนค่ำแมวโพงสิจ๊กก้น ติง ลิง ติ่ง ลิง ติ้ง ลิง ติง สิงลูกเเก้วนอนนานำพ่อ สิงลูกเเก้วกินเเล้วจั่งนอน ติง ลิง ติ่ง ลิง ติ้ง ลิง ติง ลิงตกส่าง หางซันจิ่งดิ่ง ตกก้นคุ อย่าขี้กลางคืน ขี้กลางคืน ย่านเสือมาพ่อ ขี้มื่อเช้า ย่านเเมวเป้ามาเห็น ยามกลางเวน จั่งขี้จั่งเหยี่ยว เอ้อ เฮอ เออ เฮอะ เอ้อ เฮอะ เออ... นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม
สัปดาห์ที่8 ไม่มีการเรียนการสอน สอบกลางภาค
สัปดาห์ที่9 มีการสอนเพลง และให้คิดคำ เช่นคำว่า ตาข่าย ที่นำรูปตา มาแล้วคำหลังเป็นคำว่าข่าย เท่ากับตาข่าย ดิฉันได้คิดคำขึ้นมาเอง คือ คำว่า รถ และรูปถังน้ำ เฉลย ก็คือ คำว่า " รถถัง "
สัปดาห์ที่10 สัปดาห์นี้มีครูคนใหม่มาสอน คือ คุณครู จุฑาทิพย์ โอบอ้อม หรือครูโบว์ ครูโบว์ได้หมอบหมายงานให้ทำกลุ่มละ 1 ชิ้น โดยที่งานจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เป็นการปะดิษฐ์สื่อ 4 แบบ
กลุ่มของดิฉันได้ทำหุ่นนิ้วมือ 10 ประเทศอาเซียน
สัปดาห์ที่11 วันนี้เป็นการเรียนทฤษฏีและมีการลงมือปฏิบัติ คือ การทำสื่อป็อบอัพที่สามารถตั้งได้
สัปดาห์ที่12 มีการทำเกมการศึกษากลุ่มละ 5 คน และให้บอกว่าเชื่องโยงกับนักทฤษฏีคนใด พร้อมบอกวิธีการเล่น ประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ พร้อมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วย กลุ่มของดิฉันได้ทำสื่อเกี่ยวกับ การประสมรูปภาพเพื่อให้เกิดเป็นอีกหนึ่งรูปภาพที่มีความหมายใหม่
สัปดาห์ที่13 อาจารย์โบว์ให้เพลงครอบครัวกระต่ายพร้อมท่าเต้นต่อด้วยบรรยายเนื้อหาต่อด้วยบรรยาย การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
- สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์ประกอบ
- เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา พร้อมทั้งให้คัดลายมือไทย หัวกลมตัวเหลี่ยมตามตัวอย่าง
สัปดาห์ที่14 ครูโบว์ให้ทำมุมตามจินตนาการ กลุ่มละ 5-6 คน กลุ่มฉันทำมุมจราจร
สัปดาห์ที่15 สำหรับการเรียนการสอนของสัปดาห์นี้เรียนเกี่ยวกับ เรื่อง การจัดประสบการณ์
วันนี้ครูโบว์ได้มีวีดีโอมาให้พวกเราได้ดู เรื่อง สื่อทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปเนื้อหาได้ดังนี้
สำหรับการสอนในระดับชั้นปฐมวัยแล้ว การสอนจะต้องมีความหลากหลายแตกต่างกันไป ในการที่จะทำหรือนำเสนอสิ่งต่างๆให้กับเด็ก จะต้องคคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญที่สุด เพราะเด็กแต่ละคนมีความถนัดแตกต่างกันและมีความสามารถต่างกัน พัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน ครูและผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาของเด็ก โดยที่ครูและผู้ปกครองต้องมีการสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา ต้องมีการติดตามพฤติกรรมและพัฒนาการต่างๆของเด็กอยู่เสมอๆ เด็กจะรับเอาสิ่งที่ได้ฟัง รวบรวมข้อมูล และจำ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะการพูดต่อไป ถ้าเด็กมีพัมนาการในด้านการฟังที่ดีพัฒนาการด้านการพูดก็จะดีตามไปด้วย และการอ่าน การเขียน ก้จะมีการพัฒนาให้ดีไปด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการพัฒนาที่เอื้อผลต่อกัน เด็กต้องฝึกอ่านเพราะเด็กจะเกิดทักษะการอ่านที่ดี และรู้ทิศทางของตัวอักษรในด้านการเขียนต่อไป ในการจะทำกิจกรรมใดๆควรให้เด็กได้มีส่วนร่วมมากที่สุด ครูควรเขียนตามที่เด็กพูดหรือบอก ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาเช่นกัน เพราะจากกาารพูดจะเป็นการต่อยอดไปสู่การเขียนได้ เด็กจะเกิดความมั่นใจในการเขียนและกล้าแสดงออกมากขึ้น เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่ต่างกัน เรื่องความแตกต่างของเด็กแต่ละคนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และการที่จะทำอะไรนั้นครูจะต้องถามความสนใจของเด็กด้วย...
และมีกิจกรรมให้ออกแบบการจัดประสบการณ์ โดยที่กลุ่มของดิฉันได้ออกแบบเกีี่ยวกับ เรื่อง กบ
สัปดาห์ที่16 สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ จะเป็นการสรุปความรู้และพูดคุยแนะแนวทางข้อสอบ แต่ครูโบว์ก็ยังมีกิจกรรมให้ทำ คือ ให้นักศึกษาสรุป ความรู้ต่างที่ได้รับ ในหัวข้อ การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้ทำเป็นรายบุคคล ไม่มีการนำเสนอ
โดยรวมของรายวิชานี้ ได้รับความรู้ในด้านต่างๆที่เกี่ยวของกับการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ได้รู้จักวิธีการประดิษฐ์สื่อการสอนใบแบบต่างๆ เช่น การทำป๊อปอัพที่สามารถตั้งได้ การทำหุ่นนิ้วมือ และได้เรียนรู้การประสมคำต่างๆในการที่จะนำไปทำแบบการสอนให้เด็กได้ อีกทั้งเพลงกล่อมลูกประจำภาคต่างๆ เพลงเพราะๆสำหรับเด็กปฐมวัยพร้อมท่าเต้นน่ารักๆ มีการฝึกออกแบบการจัดประสบการณ์ในการจัดมุมต่างๆให้เด็กได้เรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้ออกเป็นหน่วยการเรียนรู้ ต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของเด็กตามหลักการที่ถูกต้อง และที่สำคัญอีก 1 เรื่อง คือ การฝึกคัดลายมือ ภาษาไทยหัวกลมตัวเหลี่ยมที่ถูกต้องตามแบบแผน ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยากถ้าไม่มีการฝึกฝนเลย ดังนั้น จึงควรที่จะฝึกฝนตัวเองเพื่อที่จะได้นำไปสอนเด็กได้อย่างถูกต้องต่อไป การที่จะเป็นครูที่ดีได้นั้น จะต้องเป็นบุคคลที่มีจินตนาการและมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดริเริ่มหรือมีความกระตือรือร้นในการสอนอยู่ตลอดเวลา มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ต่างๆให้เด็กได้ จัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเด็กและเด็กเกิดการพัฒนาตัวเองตามหลักการที่ถูกต้อง ครูนั้นจะต้องเป็นผู้ที่คอยดูแล ฝึกฝน ช่วยเหลือ และพัฒนาเด็กให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจะต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็กและความแตกต่างของเด็กแต่ละคนเป็นสำคัญ เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน และมีพัฒนาการที่ช้าหรือเร็วต่างกัน ครูนั้นจึงต้องเอาใจใส่ หมั่นฝึกฝน ดูแลการทำกิจกรรมต่างๆของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุยหรือให้ความรู้ในเรื่องที่เด็กถามเพื่อให้เด็กได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง และที่สำคัญไม่ใช่ว่าครูนั้นมีหน้าที่จะพัฒนาเฉพาะตัวเด็กเพียงอย่างเดียว ตัวครูเองก็ต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถและศักยภาพในการสอนของตน ให้มีความหลายหลายและนำเสนอความรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์แก่เด็กอยู่เสมอ เพราะความรู้นั้นคือการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง.....